วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ที่พักขุนช่างเคี่ยน

บ้านพักทรงเอเฟรมไว้ทั้งสิ้น 3 หลัง สามารถพักอาศัยได้เป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 15 คน ภายในเป็นห้องกว้างสำหรับ พักรวม มี 2 ชั้น ชั้นบนสามารถจุคนได้ประมาณ 4-6 คน ส่วนชั้นล่างจุได้ประมาณ 8-12 คน มีที่นอน หมอนและ ผ้าห่ม ห้องน้ำ-สุขา อยู่ภายใน มีห้องครัว สำหรับจัดเตรียม อาหารขนาดเล็ก พร้อมเตาแก๊ส และ อุปกรณ์หุงต้ม ที่จำเป็น ในฤดูหนาว สามารถจุดเตาผิงภายใน เพื่อสร้างความ อบอุ่นได้ ในระหว่างพักอาศัย ผู้พัก อาศัยสามารถ ชมทัศนียภาพโดยรอบสถานี และมีบริเวณโดยรอบระเบียงสำหรับสังสรรค์ได้ตามสมควร



อัตราค่าบำรุงสถานที่
นักศึกษา (คนละ) 30 บาท
บุคคลทั่วไป 60 บาท
หมู่คณะ 600 บาท
ผู้สนใจสามารถติดต่อที่พักและชำระเงินได้ที่ โทร. 053-944053 หรือ 053-222014 ก่อนวันเข้าพักอาศัย (ในวันและเวลาราชการ) เบอร์โทร สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน คุณศรีนวล 086-1837161

ซากุระ .... ขุนช่างเคี่ยน

 
เมื่อเข้าฤดูหนาว หลายๆ ท่านที่มองหาสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อผักผ่อนให้หายเครียดจากการทำงานหรือว่าเที่ยวกันเป็นหมู่คณะ เชื่อว่าภาคเหนือของเรานี้คงหนีไม่พ้นในเส้นทางที่กำลังมองหาอยู่ และแน่นอนครับ เมืองเชียงใหม่นี้ไม่ทำให้ผิดหวังกัน เพียงระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรจากเมืองเชียงใหม่ ผ่านโค้งต่างๆ มากมาย มีแมกไม้โอบล้อมอันร่มรื่นคอยต้อนรับท่านอยู่  ก็จะพบกับดอยขุนช่างเคี่ยน ที่นี้เป็นดอยที่เงียบ อากาศบริสุทธิ์ และถ้ามาช่วงที่ดอกนางพญาเสือโคร่งบานแล้วล่ะก็ จะประทับใจในความสวยงามจนอยากชวนใครต่อใครมาสัมผัสกันเลยทีเดียว 
ซากุระหรือ นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน พบอยู่ในป่าที่ระดับความสูง 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลในประเทศไทย พบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,00-2,000 เมตร ในประเทศส่วนใหญ่เราจะพบได้ที่ดอยแม่สลอง ดอยผาตั้ง ดอยอินทนนท์ บนดอยเชียงดาว  ขุนวาง แม่จอนหลวง เป็นต้น ต่อมาก็มีสถานที่แห่งใหม่ๆ เกิดตามมา อย่างเช่น ดอยขุนแม่ยะ อยู่ใกล้กับห้วยน้ำดัง หรือจะเป็นดอยขุนสถานที่จังหวัดน่าน และอีกหลายๆ ที่ซึ่งกำลังฟูมฟักสรรค์สร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ขึ้นมา




            เส้นทางจากตัวเมืองมาถึงบริเวณวัดพระธาตุดอยสุ เทพนั้น ถนนหนทางกว้างขวาง สะดวกสบาย แต่ก็อาจมีรถติดบ้างบางจุด เพราะ นักท่องเที่ยวต่างหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวกันมากเพราะถนนเส้นนี้มีสถานที่ ท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายด้วยกันหลายที่ เช่น น้ำตกวังบัวบาน  วัดพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ หมู่บ้านม้งดอยปุย และดอยขุนช่างเคี่ยน ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เส้นทางนี้ทั้งนั้น




จากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ไปประมาณ 3 ก.ม.   ก็จะพบทางแยกซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านม้งดอยปุย ส่วนแยกขวาก็จะไปดอยขุนช่างเคี่ยน ซึ่งเราก็ได้มุ่งหน้าไปดอยขุนช่างเคี่ยน ก่อนแล้วค่อยกลับมาเที่ยวชมหมู่บ้านม้งดอยปุย จากจุดนี้ไปอีกประมาณ 7 ก.ม. หนทางเริ่มคดเคี้ยวแคบลงและต้องลัดเลาะไปตามไหล่เขา  และด้วยอากาศที่เย็นประมาณ 14 องศา  ต้องใช้ความระมัดระวังในการขับรถเป็นอย่างมาก เมือขับรถผ่านแมกไม้อันร่มรื่นมาเรื่อยๆ ประมาณ 10 นาทีก็จะเริ่มเห็นดอกนางพญาเสือโคร่งกันบ้างแล้ว  จนกระทั่งมาถึงจุดกางเต้น ณ จุดนี้เราได้พบกับต้นซากุระที่กำลังออกดอกสีชมพูสะพรั่งตลอดแนวถนน  เราไม่รีรอที่จะคว้ากล้องมาเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก เสียงชัตเตอร์บันทึกภาพกันอย่างเมามันส์ สลับกับการถ่ายภาพบรรยากาศโดยรอบ



วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แผนที่การและเดินทางไปยังบ้านขุนช่างเคี่ยน


อยู่ทางทิศเหนือของยอดดอยปุย ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 32 กิโลเมตรตามเส้นทางสายเชียงใหม่-พระธาตุดอยสุเทพ ลักษณะถนนจากเมืองเชียงใหม่ถึงพระตำหนักฯ ลาดยางเป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จากนั้นเป็นถนนโรยกรวดขนาดเล็กจากพระตำหนักไปถึงยอดดอยปุยอีกประมาณ 4 กิโลเมตร และเป็นถนนดินที่มีผิวทางค่อนข้างชำรุดจากยอดดอยปุยไปทางหมู่บ้านม้งขุนช่าง เคี่ยนอีกประมาณ 4 กิโลเมตร






1.รถยนต์ส่วนตัวเส้นทางการเดินทางไปยังขุนช่างเคี่ยนนั้น เราจะใช้เส้นทางเดียวกับการไปดอยสุเทพและหมู่บ้านแม้วดอยปุย ช่วงทางระหว่างเชียงใหม่ถึงบ้านแม้วดอยปุยจะลาดยางเดินทางได้สะดวกค่ะ หมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน จะอยู่ทาง ทิศเหนือของ ยอดดอยปุย ห่างจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 32 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายเชียงใหม่ - พระธาตุดอยสุเทพ ลักษณะถนนจากเมืองเชียงใหม่ถึง พระตำหนักฯ ลาดยางเป็นระยะ ทางประมาณ 12 กิโลเมตร จากนั้นเป็นถนนโรยกรวดขนาดเล็กจาก พระตำหนัก ไปถึงยอดดอยปุยอีกประมาณ 4 กิโลเมตร และเป็นถนนดินที่มีผิวทางค่อนข้างชำรุดจากยอดดอยปุยไปทาง หมู่บ้านม้งขุนช่างเคี่ยนอีกประมาณ 4 กิโลเมตร


2.รถโดยสารสาธารณะ 
การเดินทางมาขุนช่างเคี่ยนอย่างที่บอกค่ะ ถ้าไม่มีรถส่วนตัว ก็ต้องเหมาสองแถว เพราะที่นี่อยู่นอกเหนือเส้นทาง วิ่ง ของรถ ปกติรถสองแถวบริวเวณปากทางขึ้นพระธาตุจะพานักท่องเที่ยวไป 3 จุด คือ พระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ และบ้านม้งดอยปุย ส่วนขุนช่างเคี่ยน เลยจากบ้านม้งดอยปุยไปเยอะเหมือนกันทางเป็นทาง ชันแคบดินลูกรัง หากใครต้องการขึ้นมาโดยไม่มีรถส่วนตัว มีหลายทางเลือก คือ
-เหมารถตรงปากทางขึ้นก ็แพงมาก แต่ถ้ามาหลายคนก้ค่าใช้จ่ายน้อยลง แนะนำว่าให้นั่งรถสองแถวไปลง บ้านม้งก่อน แล้วเหมาจากที่นั้นขึ้นไปน่าจะถูกกว่า
- รอให้นักท่องเที่ยวนั่งเต็มคันซึ่งก็นานอีก
- เช่ามอเตอร์ไซต์ขับขึ้นไปเองแต่อันตรายพอสมควร ต้องขับรถชำนาญ










เกี่ยวกับบ้านขุนช่างเคี่ยน

บ้านขุนช่างเคี่ยน หรือสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่   ตั้งอยู่ในเส้นทางเดียวกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์ และบ้านม้งดอยปุย สถานีเกษตรที่สูง ขุนช่างเคี่ยนเป็น 1 สถานี เกษตรฯ ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 



เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับ เมล็ด พันธุ์กาแฟ  ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ พลับ บ๊วย พลัม อะโวกาโด มะคาเดเมีย และไม้ผลกึ่งร้อน ได้แก่ ลิ้นจี่






 และในทุกๆปีของหน้าหนาวช่วงเดือนมกราคม ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย สีชมพู สดจะบานสะพรั่งอวดความงามไปทั่วบริเวณ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านชาวม้ง บ้าน ขุนช่างเคี่ยนเต็มไปด้วยสีชมพูของต้นนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่มาก ทั้งตามข้างทางถึงในหมู่บ้าน


ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็น ดงอยู่รวมกัน สีของซากุระนั้นบาน เป็นสีชมพูสดใส แถมบางช่วงซากุระยังบานแทรกตัวอยู่ในหมู่บ้าน ตามบ้านเรือน ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนักซึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถมากางเต็นท์ได้ทั้ง ที่หน่วยดอยปุยและบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนก็ได้เช่นกัน 



ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็น ดงอยู่รวมกัน สีของซากุระนั้นบาน เป็นสีชมพูสดใส แถมบางช่วงซากุระยังบานแทรกตัวอยู่ในหมู่บ้าน ตามบ้านเรือน ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนักซึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถมากางเต็นท์ได้ทั้ง ที่หน่วยดอยปุยและบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนก็ได้เช่นกัน 
ขุนช่างเคี่ยนถือเป็นแหล่งชม ดอกพญาเสือโคร่งที่  ที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่อง เที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะดงดอกซากุระดอย ที่ขุนช่างเคี่ยนมีความสวยงามไม่แพ้ใครดอกซากุระ (นางพญาเสือโคร่ง) จะบาน เฉพาะฤดูหนาว ช่วงระหว่างปลายเดือนธันวาคม - ต้นเดือนมกราคมเท่านั้นซึ่งจะบาน ในระยะเวลาไม่นานดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลก่อนการเดินทางแล่วงเวลาที่ดอกพญาเสือ โคร่งบานก่อนออกเดิน ทางนอกจากได้ชมดอกซากุระ เมืองไทยแล้ว ที่นี่ยังมีดอกท้อ สีขาวบริสุทธิ์ที่อวดดอกออกช่อ แข่งกับดอกนาง พญาเสือโคร่ง อย่างไม่ขัดเขิน


วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของชาวม้ง ( History of The Hmong Hill Tribe )


    ประวัติความเป็นมาของชาวม้ง

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318
ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น
กลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว
บริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน