วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แผนที่การและเดินทางไปยังบ้านขุนช่างเคี่ยน


อยู่ทางทิศเหนือของยอดดอยปุย ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 32 กิโลเมตรตามเส้นทางสายเชียงใหม่-พระธาตุดอยสุเทพ ลักษณะถนนจากเมืองเชียงใหม่ถึงพระตำหนักฯ ลาดยางเป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จากนั้นเป็นถนนโรยกรวดขนาดเล็กจากพระตำหนักไปถึงยอดดอยปุยอีกประมาณ 4 กิโลเมตร และเป็นถนนดินที่มีผิวทางค่อนข้างชำรุดจากยอดดอยปุยไปทางหมู่บ้านม้งขุนช่าง เคี่ยนอีกประมาณ 4 กิโลเมตร






1.รถยนต์ส่วนตัวเส้นทางการเดินทางไปยังขุนช่างเคี่ยนนั้น เราจะใช้เส้นทางเดียวกับการไปดอยสุเทพและหมู่บ้านแม้วดอยปุย ช่วงทางระหว่างเชียงใหม่ถึงบ้านแม้วดอยปุยจะลาดยางเดินทางได้สะดวกค่ะ หมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน จะอยู่ทาง ทิศเหนือของ ยอดดอยปุย ห่างจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 32 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายเชียงใหม่ - พระธาตุดอยสุเทพ ลักษณะถนนจากเมืองเชียงใหม่ถึง พระตำหนักฯ ลาดยางเป็นระยะ ทางประมาณ 12 กิโลเมตร จากนั้นเป็นถนนโรยกรวดขนาดเล็กจาก พระตำหนัก ไปถึงยอดดอยปุยอีกประมาณ 4 กิโลเมตร และเป็นถนนดินที่มีผิวทางค่อนข้างชำรุดจากยอดดอยปุยไปทาง หมู่บ้านม้งขุนช่างเคี่ยนอีกประมาณ 4 กิโลเมตร


2.รถโดยสารสาธารณะ 
การเดินทางมาขุนช่างเคี่ยนอย่างที่บอกค่ะ ถ้าไม่มีรถส่วนตัว ก็ต้องเหมาสองแถว เพราะที่นี่อยู่นอกเหนือเส้นทาง วิ่ง ของรถ ปกติรถสองแถวบริวเวณปากทางขึ้นพระธาตุจะพานักท่องเที่ยวไป 3 จุด คือ พระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ และบ้านม้งดอยปุย ส่วนขุนช่างเคี่ยน เลยจากบ้านม้งดอยปุยไปเยอะเหมือนกันทางเป็นทาง ชันแคบดินลูกรัง หากใครต้องการขึ้นมาโดยไม่มีรถส่วนตัว มีหลายทางเลือก คือ
-เหมารถตรงปากทางขึ้นก ็แพงมาก แต่ถ้ามาหลายคนก้ค่าใช้จ่ายน้อยลง แนะนำว่าให้นั่งรถสองแถวไปลง บ้านม้งก่อน แล้วเหมาจากที่นั้นขึ้นไปน่าจะถูกกว่า
- รอให้นักท่องเที่ยวนั่งเต็มคันซึ่งก็นานอีก
- เช่ามอเตอร์ไซต์ขับขึ้นไปเองแต่อันตรายพอสมควร ต้องขับรถชำนาญ










เกี่ยวกับบ้านขุนช่างเคี่ยน

บ้านขุนช่างเคี่ยน หรือสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่   ตั้งอยู่ในเส้นทางเดียวกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์ และบ้านม้งดอยปุย สถานีเกษตรที่สูง ขุนช่างเคี่ยนเป็น 1 สถานี เกษตรฯ ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 



เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับ เมล็ด พันธุ์กาแฟ  ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ พลับ บ๊วย พลัม อะโวกาโด มะคาเดเมีย และไม้ผลกึ่งร้อน ได้แก่ ลิ้นจี่






 และในทุกๆปีของหน้าหนาวช่วงเดือนมกราคม ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย สีชมพู สดจะบานสะพรั่งอวดความงามไปทั่วบริเวณ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านชาวม้ง บ้าน ขุนช่างเคี่ยนเต็มไปด้วยสีชมพูของต้นนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่มาก ทั้งตามข้างทางถึงในหมู่บ้าน


ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็น ดงอยู่รวมกัน สีของซากุระนั้นบาน เป็นสีชมพูสดใส แถมบางช่วงซากุระยังบานแทรกตัวอยู่ในหมู่บ้าน ตามบ้านเรือน ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนักซึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถมากางเต็นท์ได้ทั้ง ที่หน่วยดอยปุยและบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนก็ได้เช่นกัน 



ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็น ดงอยู่รวมกัน สีของซากุระนั้นบาน เป็นสีชมพูสดใส แถมบางช่วงซากุระยังบานแทรกตัวอยู่ในหมู่บ้าน ตามบ้านเรือน ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนักซึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถมากางเต็นท์ได้ทั้ง ที่หน่วยดอยปุยและบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนก็ได้เช่นกัน 
ขุนช่างเคี่ยนถือเป็นแหล่งชม ดอกพญาเสือโคร่งที่  ที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่อง เที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะดงดอกซากุระดอย ที่ขุนช่างเคี่ยนมีความสวยงามไม่แพ้ใครดอกซากุระ (นางพญาเสือโคร่ง) จะบาน เฉพาะฤดูหนาว ช่วงระหว่างปลายเดือนธันวาคม - ต้นเดือนมกราคมเท่านั้นซึ่งจะบาน ในระยะเวลาไม่นานดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลก่อนการเดินทางแล่วงเวลาที่ดอกพญาเสือ โคร่งบานก่อนออกเดิน ทางนอกจากได้ชมดอกซากุระ เมืองไทยแล้ว ที่นี่ยังมีดอกท้อ สีขาวบริสุทธิ์ที่อวดดอกออกช่อ แข่งกับดอกนาง พญาเสือโคร่ง อย่างไม่ขัดเขิน


วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของชาวม้ง ( History of The Hmong Hill Tribe )


    ประวัติความเป็นมาของชาวม้ง

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318
ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น
กลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว
บริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน